วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1.นาย ศิวกร พรคนึง เลขที่ 16
2.นางสาว จิดาภา ใจฉ่ำ เลขที่ 45
3.นางสาว ธนัญญา เต็มหลวง เลขที่ 48
4.นางสาว ธนาภรณ์ แวงวรรณ เลขที่ 49
5.นางสาว สุลักขณา ทองปิ่น เลขที่ 52
6.นางสาว ชลธิชา จันทิม เลขที่ 53

ชั้น ม. 5/3

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรแก้ไข้ - ลดไข้

ตะลิงปลิง (ผักสมุนไพร)








ตะลิงปลิง (ผักสมุนไพร)
ตะลิงปลิงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และพบตวามชายทะเลในประเทศบราซิล มีการปลูกในประเทศไทยนานแล้วพบทั่วไปตามสวนและตามบ้าน ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป เป็นไม้ผลใช้บริโภค ตะลิงปลิงอยู่ในสกุลเดียวกับมะเฟือง หรืออยู่ตรงกลางระหว่างมะเเฟืองกับมะดัน


ผลตะลิงปลิง
ชื่อเรียกทั่วไปตามท้องถิ่น : มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)

ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 – 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง ใบ ประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11 - 37 ใบ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ดอก เป็นช่อหลายช่อ ตามลำต้นหรือกิ่ง ในแต่ละช่อมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบเช่นกัน สีเขียวอมชมพู ดอกมีกลิ่น เกสรกลางดอกมีสีเขียว ผล กลมยาวปลายมน ผลยาว 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ผิวเรียบมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รศเปรี้ยว เมล็ด แบนมีลักษณะแบนยาวสีขาว

ประโยชน์ทางอาหาร : ผลตะลิงปลิงมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใช้แกงส้ม แกงคั่ว ทำน้ำพริก ต้มหมู ต้มเนื้อ ยำต่าง ๆ นำมาดอง หรือหั่นเป็นเล็กๆ กินกับขนมจีน หรืใช้แทนมะนาวในเมี่ยวคำ (ภูเก็ต) ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของผลตะลิงปลิง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 92.5 กรัม ในพลังงาน 27 กิโลแคลลอรี่ มีไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 6.3 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลอกรัม วิตามินเอ 175 Internation Unit วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 35 มิลลิกรัม


บอระเพ็ด



การใช้ประโยชน์
มี การใช้บอระเพ็ดเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคฝีดาษ โรคไข้เหนือ โรคไข้พิษทุกชนิด ใบ รักษาพยาธิในท้อง รักษาฟัน ตำให้ละเอียดพอกฝี แก้ฟกช้ำ ปวดแสบปวดร้อน ผล เป็นยารักษาโรคไข้พิษอย่างแรงและเสมหะเป็นพิษ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ โรคโลหิตพิการ
ในทางการเกษตร มีการนำบอระเพ็ดมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น หนอนกอ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น
วิธีใช้ ใช้ เถาสด 5 กิโลกรัม บดหรือโขลกละเอียด ผสมน้ำ 12 ลิตร ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดพ่นในแปลงพืช โดยฉีดพ่นติดต่อกัน 2 วัน เมื่อมีศัตรูพืช
ก่อนฉีดพ่นควรผสมสารจับใบ หรืออาจใช้ผงซักฟอก , น้ำยาล้างจาน , แชมพู อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร

สรรพคุณทางยา
ราก : สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
ดอก : นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด



ชิงช้าชาลี



ชิงช้าชาลีหรือหรือ (บอระเพ็ดตัวผู้)

เป็นไม้เถาเลื้อพาดพันต้นไม้ ลักษณะใบก็เป็นรูปหัวใจ

แต่ที่โคนใบมีตุ่มเล็กๆ 2 ตุ่ม และลำต้นจะไม่มีตุ่มตา จะแตกต่างกับตัวเมียก็ตรงนี้และค่ะ ไม้เถาก็จะเกลี้ยงไม่มีตุ่ม

เถา รสขม สรรพคุณ แก้พิษฝีดาษ แก้ไข้เหนือ ไข้เพืิ่อโลหิต

แก้ฝีกาฬ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เลือดเย็น

ระงับความเจ็บปวด แก้มะเร็งใบรสขมเมา

สรรพคุณ ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้มะเร็ง
ดอก รสขมเมา สรรพคุณ ขับพยาธิในท้อง แก้รำมะนาด

ปวดฟัน แก้แมลงเข้าหู



ใบย่านาง




นอกจากจะเป็นอาหารและเครื่องปรุงรส

ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียมและ

วิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย

เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน

คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไข้ได้

อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา

แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้

วิธีใช้เถาย่านางเพื่อลดไข้ ใช้ดังนี้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม

ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือต้มกับสมุนไพรอีก

ชนิดตามการแนะนำของสถาบันการแพทย์แผนไทย

คือรากเท้ายายม่อมรากมะเดื่ออุทุมพรรากคนทารากชิงขี่จะให้ผล

ในการลดไข้ได้ดียิ่งขึ้น


แตงกวา





ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน

เสริมการทำงานของระบบประสาท

ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ

มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล

ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และบวมน้ำ

ถ้ากินเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ใบและเมล็ดแก่

ใช้เป็นยาขับพยาธิเถา ช่วยลดความดันเลือดใบ แก้ท้องเสีย บิด




จันทร์ผา





ลักษณะ : จันทน์ผาเป็นไม้ประดับที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

โดยเฉพาะตามป่าเขาเรือนยอดเปลือกนอกสีเทา

เปลือกในสีขาว ลักษณะใบ ใบเดี่ยว ลักษณะดอก

ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ

ตรงกลางดอกมีจุดสีแดงดอกสีขาว ลักษณะผล กลม

เล็ก ผลอ่อน มีสีเขียว ผลแก่ สี แดง และ ม่วงคล้ำ มีเมล็ดเดียว

สรรพคุณทางยา : ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงน้ำยาอุทัย

แก่นที่ราลง - มีสีแดง ใช้เป็นยาเย็น แก้ไข้ทุกชนิด

แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย

เนื้อไม้ที่มีเชื้อราลงจะมีสีแดงเข้มเรียกว่า จันทน์แดง

ใช้เป็นยาเย็นดับพิษไข้ บำรุงหัวใจ ฝนทาภายนอกแก้ฟกช้ำ ฝี บวม